...ยินดีต้อนรับสมาชิกทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนบล็อกนี้จร้า...

หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สื่อการเรียนการสอน โครงการเด็กไทยสุขภาพดี 3

การเรียนรู้

๑. การอ่าน
Information is power ในสังคมปัจจุบันใครที่มีข้อมูลมากก็ย่อมมีความคิดที่ลุ่มลึกกว่า และความคิดก็จะนำมาซึ่งเงินทอง ฐานะ ตำแหน่งและอำนาจ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการอ่าน เราควรทราบวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านด้วยวิธีง่าย ๆ อันดับแรกคือ ถามตัวเองก่อนว่า ” เราต้องการประโยชน์อะไรจากการอ่านในครั้งนี้ “
เทคนิคในการอ่านเร็ว
๑. ควรอ่านไม่มีเสียงในใจ
๒. การอ่านจับใจความสำคัญ เพื่อหาประเด็นที่ผู้เขียนต้องการสื่อ สามารถทำได้โดย เริ่มต้นการอ่านด้วยการหา key concept
>> ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องอ่านรึเปล่า เราต้องการรู้อะไร และจะอ่านส่วนไหนบ้าง
>> อ่านเจาะประเด็น ก็ทำให้เราไม่เสียเวลาอ่านทุกหน้า
๓. ต้องประเมินแหล่งข้อมูล เพราะประโยชน์สูงสุดของการอ่านคือ การนำข้อมูลมาใช้ จึงจำเป็นต้องประเมินความน่าเชื่อถือ และแหล่งที่มาของข้อมูล สามารถวัดได้ เช่น เป็นข้อมูลที่ update หรือไม่ สำนักพิมพ์อะไร เป็นต้น

๒. การฟัง
ตามทฤษฎีที่ว่าข้อมูลที่เราได้รับทุกอย่างจะถูกบันทึกในสมองของเรา ถ้าเราได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในทางบวกเยอะๆ ย่อมทำให้เราเป็นคนมองโลกในแง่บวก พร้อมที่จะแก้ปัญหามากกว่ายอมแพ้ปัญหา ดังนั้น เราควรกลั่นกรองแต่ละข้อมูลที่เราได้รับ ก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูก Memory ในสมองของเรา ซึ่งมีกลวิธีดังนี้
๑. ประเมินผู้พูด :
มีความน่าเชื่อถือ หรือไม่, ความน่าเชื่อถือ: น่าเชื่อถือ แต่ไม่ชอบพูด, เทคนิค: ตั้งคำถาม หรือพูดยั่วยุแต่สุภาพ
เช่น วิพากษ์วิจารณ์ความคิด เพื่อกระตุ้นให้เขาพูด เป็นต้นน่าเชื่อถือ แต่พูดไม่ตรงประเด็น ให้ถามอย่างสุภาพว่า ประเด็นที่กำลังพูดคืออะไร? ช่วยสรุปให้ฟังสัก ๒ ประโยคได้มั้ย? ถ้าไม่น่าเชื่อถือให้เราฟังตามมารยาทสังคม
๒. self-talk:
ถามตัวเองตลอดเวลาว่า ” ผู้พูดต้องการพูดเพื่ออะไร ”
๓. ฟังด้วยความรู้สึก : ใช่ หรือไม่ใช่
๔. การคิด
คนที่จะประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องมี IQ สูง แต่ต้องมีความคิดอย่างเป็นระบบ และคิดอย่างสร้างสรรค์ในเรื่องที่มีประโยชน์ โดยมีระบบความคิดทั้งหมด ๖ ประเภท ดังต่อไปนี้

ประเภท ลักษณะ
- Think objectively คิดอย่างเป็นกลาง–เห็นความจริงตรงตามความจริง
- Think productively คิด ตัดสินใจโดยมองที่ “ผล” เมื่อเจอสถานการณ์หนึ่ง แล้วสามารถคิดพิเคราะห์ถึงผลทั้งด้านบวกและลบที่จะตามมา
- Think positively คิดหาทางแก้ปัญหาเมื่อพบอุปสรรคก็ยังสามารถคิดหาทางพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
-Think creatively ความคิดที่สร้างเหตุและปัจจัยอันใหม่ เพื่อสร้างอนาคตของตัวเอง ความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ที่เคยชินกับสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน  อาจสร้างได้โดยการถามตัวเองว่า “ทำอย่างไรจึงจะทำงานของเราได้ดีกว่าเดิม?”

๓. การสร้างความจำ
ทางกายภาพสมองมนุษย์เราสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ภายในเวลา ๑/ ๑๐๐๐ วินาที และโดยรู้ตัวหรือไม่ ข้อมูลที่เราได้รับจะอยู่ภายในสมองเราครบถ้วน เพียงแต่เราไม่สามารถดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้ สาเหตุหนึ่ง
มาจากการ ” การลืม “
ทุกครั้งที่เราได้รับข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การอ่าน ฟัง หรือคิด เป็นต้น จะเกิดอัตราการลืมโดยเฉลี่ยภายใน ๕ นาที จะจำข้อมูลได้ ๕๐ %  และถ้าผ่านไป ๑ วัน จำได้ ๑๐ %จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับ แต่ข้อมูลทั้งหมดยังอยู่ในสมองของเรา
คำถาม : ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถจำข้อมูลที่เราอยากจำได้ ?
๑. จดบันทึก (take note) : เป็นการสั่งสมองให้จำข้อมูล
๒. สร้างภาพ : เพื่อช่วยให้มีความจำดีขึ้น ภาพที่สร้างควร
• ขนาดใหญ่กว่าความจริง
• ขยับมาก มีสีสัน ความรู้สึกรุนแรง
• เกินความจริง เช่น ลิงพูดได้ เป็นต้น

ลักษณะของการจัดนิทรรศการ

      การจัดนิทรรศการโดยทั่วไปเป็นการผสมผสานสื่อ ซึ่งหมายรวมถึง สื่อที่วัสดุ อุปกรณ์ เทคนิควิธีการต่าง ๆ มารวมกันเพื่อสร้างความดึงดูดใจต่อผู้พบเห็นและสามารถถ่ายทอดสารต่าง ๆ ตามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของผู้จัด โดยทั่วไปหากพิจารณาเฉพาะสื่อสามารถกำหนดลักษณะของการนำเสนอในการจัดนิทรรศการได้ 3 ลักษณะ คือ

1.การจัดนิทรรศการแบบสองมิติ เป็นการจัดโดยเน้นการใช้สื่อประเภทสองมิติ ซึ่งความหมายทางกายภาพของสื่อสองมิตินั้น เป็นสื่อที่มีเพียงความกว้าง และยาว พบเห็นกันได้ง่าย และนิยมใช้กันอยู่ทั่วไป เช่น ป้าย กราฟิก รูปภาพ เป็นต้น การเลือกสื่อประเภทสองมิติมาใช้ในการจัดนิทรรศการมักจะมีเหตุผลมาจากข้อจำกัดในหลาย ๆ ประการ เช่น วัตถุประสงค์ พื้นที่ในการจัดนิทรรศการ ลักษณะของเนื้อหา เป็นต้น อย่างไรก็ตามสื่อสองมิติก็สามารถสร้างความเข้าใจตลอดจนความน่าสนใจได้ดีหากมีการออกแบบ และวางแผนการผลิตอย่างมีระบบ ตลอดจนมีการนำหลักทางศิลปมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

2.การจัดนิทรรศการแบบสามมิติ การจัดนิทรรศการแบบนี้เป็นการนำเอาสื่อประเภทสามมิติมาใช้ในการนำเสนอเป็นส่วนใหญ่ สื่อสามมิติเป็นสื่อที่พิจารณาในแง่ความน่าสนใจ และดึงดูใจแล้วค่อนข้างจะได้เปรียบสื่อสองมิติ และกินความหมายกว้างกว่า ทั้งนี้หากพิจารณาลักษณะทางกายภาพจะพบว่าของจริง (Real Object) ให้ประโยชน์ในแง่ของการเรียนรู้ที่ได้ประสิทธิภาพมากกว่า และจะมีคุณค่ามากกว่าสื่อสองมิติอย่างชัดเจน แต่การเลือกสื่อประเภทนี้ ตลอดจนการผลิตขึ้นมาใหม่จำต้องมีความเหมาะสม มิฉะนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสูญเปล่า

3.การจัดนิทรรศการแบบผสมผสาน การจัดในลักษณะนี้จะผสมผสานสื่อสองมิติและสามารถมิติเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ชมไม่จำเจและเบื่อหน่าย แต่ก็ต่อมีการออกแบบ สร้างสรรค์ให้เกิดความสัมพันธ์และส่งเสริมกันและกันเป็นอย่างดี ในทางปฎิบัติจะพบว่าโดยส่วนมากจะจัดนิทรรศการในลักษณะผสมผสานเป็นส่วนมาก